Sunscreen มีกี่ประเภท

Sunscreen มี 3 ประเภท Chemical sunscreen,  Physical sunscreen และ Hybride

Chemical subscreen: ทำหน้าที่ปกป้องผิวโดยการดูดซับรังสียูวีจากภายนอกและคายออกเป็นรูปแบบความร้อนจากผิวหนัง ประกอบด้วย Oxybenzone, Octinoxate, Octisalate, Avobenzone และ Homosalate เป็นต้น

จากงานวิจัยพบว่า

ข้อดี

  • บางเบา สบายผิว เกลี่ยง่าย ไม่ขาว ทนน้ำทนเหงื่อ ด้วยตัว Raw material ที่เป็นน้ำมัน
  • สูตร chemical sunscreen ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจึงมักจะมีเนื้อบางเบาสบายผิว เนื้อน้ำนมหรือสีใส ไม่เหนี่ยวแหนะ เกลี่ยง่าย ซึมง่ายช่วยดูดซึมรังสียูวีไม่ให้ทำร้ายผิว

ข้อเสีย

  • ในหลายเคส chemical sunscreen ชนิดต่างๆ มีการระคายเคืองผิวได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวบอบบาง เช่น เด็กและปัญหาผิวเรื้อรัง (เช่น กลาก โรคสะเก็ดเงิน หรือโรซาเซีย) หรือผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย (sensitive skin)
  • ประสิทธิภาพของ Chemical sunscreen จะลดลงไปเรื่อยตามระยะเวลาการใช้งาน จึงจำเป็นต้องทาซ้ำตลอดทั้งวัน เพื่อคงความสามารถในการปกป้องผิว
  • เกิดประการังฟอกขาว

 

Physical sunscreen: ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิว ช่วยสะท้อนรังสียูวี ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ 2 ชนิด ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์ (zinc oxide) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide)

ข้อดี

  • มีความอ่อนโยนต่อผิว โอกาสการระคายเคืองเกิดได้น้อยกว่า  Chemical sunscreen 
  • สูตร physical sunscreen ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจึงมักใช้ในผลิตสำหรับ sensitive skinและ Kid product จะมีเนื้ค่อนข้างขาว เนื้อหนัก เคลือบบนผิวเพื่อสะท้อนรังสัยูวี
  • มีประสิทธิภาพคงทนในการเป็นเกราะป้องกันผิว
  • Reef friendly

ข้อเสีย

  • เนื้อสีขาว มีผลต่อเนื้อผลิตภัณฑ์
  • เนื้อค่อนข้างหนักและเกลี่ยยากด้วย Raw material ที่เป็นผงแป้ง
  • หลุดง่าย ไม่ทนน้ำและเหงื่อเท่า checmical sunscreen

 

Hybride sunscreen: การผสมผสานระหว่าง Chemical subscreen และ Physical sunscreen เพื่อช่วยการส่งเสริมประสิทธิภาพข้อดีกลบข้อเสียของทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน

รูปภาพจาก https://portipoh.com.my/?m=ippunitv-on-x-physical-sunscreen-vs-chemical-sunscreen-both-ss-RdpmJbiD