Category: General

ความชุ่มชื่นที่ถูกมองข้ามความสำคัญจากครีมกันแดด

ภาวะผิวไหม้แดดเกิดจากการความร้อนของรังสียูวีที่โดนผิวโดยตรงเป็นเวลานานและการสูญเสียน้ำจากเซลล์ผิว ทำให้เกิดผิวหนังกำลังอักเสบ อาการผิวแดง แสบร้อน ระคายเคือง รู้สึกผิวแห้งมากๆ หรือพองเป็นตุ่มน้ำได้ โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากไปตากแดดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผิวที่ไหม้แดดและสภาพผิวของแต่ละบุคคล วิธีป้องกันได้ง่ายที่สุดคือการทากันแดด หลีกเลี่ยงการออกแดดเป็นเวลานาน เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด และสวมเสื้อผ้าเพื่อช่วยกรองรังสียูวีสัมผัสผิวโดยตรง

  เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำยังช่วยปรับสมดุลรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กคือ moisturiser เพราะผิวเด็กบางกว่าผู้ใหญ่หลายเท่าตัว ไขมันน้อยกว่า และเมลานินน้อยกว่า ทำให้อัตราการสูญเสียน้ำง่ายกว่า ย่อมส่งผลต่อการกักเก็บความชุ่มชื้นในผิว ทำให้ผิวของเด็กนั้นแห้ง ลอกได้ง่าย รอยแดง ผื่นง่ายกว่าผู้ใหญ่ แต่ด้วยผิวที่บางกว่าผิวของเด็กก็ดูดซับและซึมผ่านของความชื้นได้เร็วกว่าเช่นกัน

เพื่อการปกป้องผิวที่มากขึ้น ผู้ที่มีผิวบอบบางเช่นเด็กหรือปัญหาผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin) ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติที่ไม่ใช่แค่ป้องกันรังสียูวี แต่ควรมี moisture หรือ Emollient ที่ช่วยเติมความชุ่มชื่นให้ผิวและกักเก็บน้ำในผิวไม่ให้ระเหยออกจากผิวระหว่างวัน จะช่วยลดปัญหาผิวแห้ง แดง ลอกจากการโดนแดดเป็นเวลานาน และที่สำคัญคงสภาพของเซลล์ผิวได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย

ชุ่มชื่นจึงออกแบบผลิตภัณฑ์กันแดด ให้มีส่วนผสมของ Organic Natural Moisturisers จากน้ำมันธรรมชาติ อย่าง Organic Argan Oil, Bisabolol และ Vitamin E  ที่ทำหน้าที่บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ พร้อมยังอุดมไปด้วยกรดไขมันธรรมชาติ (Fatty acids) ที่ สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ยาวนานกว่ากรดไขมันชนิดอื่น และ ช่วยปรับสมดุลผิวหน้า และผิวกายบาลานซ์  เสมือนสร้างเกราะป้องกันให้กับผิว ทำให้ผิวแข็งแรงพร้อมเผชิญในทุกสถานการณ์

ปริมาณที่เหมาะสมของการทากันแดด

  • เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมทากันแดดที่หน้าถึงต้อง2 ข้อนิ้ว จริงๆแล้ว 2ข้อนิ้วคือค่าเฉลี่ยปริมาณที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์กันต่อพื้นผิวในการใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามจริง
  • ปกติการวัด SPF จะใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆปริมาณ 2 mg/1 ตารางเซนติเมตรในการวัดผล เมื่อผลออกมาได้ SPF 50 ดังนั้นเพื่อให้กันแดดมีปะสิทธิภาพตามจริงจึงควรจะต้องใช้ ปริมาณ 2 mg/1 ตารางเซนติเมตร ต่อปริเวณผิวนั้นๆ  เช่นหน้า ข้อมูลอ้างอิงวิจัยของ SCCS (EU) ที่ระบุว่า ใบหน้าคนเรามีพื้นที่ทั้งหมดเฉลี่ย 565 ตารางเซนติเมตร หักส่วนของคิ้ว ตา ปาก ที่ไม่จำเป็นต้องทากันแดด จะเหลือ 350-400 ตารางเซนติเมตร (350 * 2 = 700 mg; 0.7 g) 
  • * ซึ่งแต่ละส่วนของอวัยวะของเด็กมีความแตกต่างตามช่วงอายุ จะใช้ปริมาณแตกต่างกัน ดังนี้ 

 

👶🏻 บริเวณใบหน้าและลำคอ

  • 1-2 ปี ใช้ประมาณ 1.5 ข้อนิ้ว 
  • 3-5 ปี ใช้ประมาณ 1.5 ข้อนิ้ว 
  • 6-10 ปี ใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้ว

✌🏻บริเวณแขนและมือ

  • 1-2 ปี ใช้ประมาณ 1.5 ข้อนิ้ว 
  • 3-5 ปี ใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้ว 
  • 6-10 ปี ใช้ประมาณ 2.5 ข้อนิ้ว

🦵🏻บริเวณขาและเท้า

  • 1-2 ปี ใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้ว 
  • 3-5 ปี ใช้ประมาณ 3 ข้อนิ้ว 
  • 6-10 ปี ใช้ประมาณ 4.5 ข้อนิ้ว

ความแตกต่างระหว่าง Titanium dioxide และ zinc oxide

ซิงค์ออกไซด์(zinc oxide) เป็นออกไซด์ของสังกะสีที่มีสูตรทางเคมี ZnO ในขณะที่ไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide)เป็นออกไซด์ของไทเทเนียมที่มีสูตรทางเคมี TiO2 

TiO2 ถูกใช้อย่างกว้างขวางกว่าในรูปแบบของเม็ดสี (Pigment) เป็นรูปแบบหลักที่มีการนำไปใช้งานเครื่องสำอางค์มากกว่า ZnO เนื่องจากความสว่างและดัชนีการหักเหของแสงสูงกว่า(high refractive index) TiO2 ให้ความขาวและความทึบสำหรับสี นอกจากนี้ยังสามารถช่วยกันแดด และนิยมใส่ในครีมกันแดดเนื่องจากมีความสามารถในการดูดซับแสง UV ได้อีกด้วย 

แต่ในทางกันแดด ZnO มีความสามารถสะท้อนรังสียูวีได้ดีกว่า (สามารถกันได้ทั้ง UVB, UVA II and UVA I) ในช่วงความยาวคลื่นที่มากกว่า ในขณะที่ TiO2 ไม่ใช่ตัวดูดซับรังสียูวีที่ดีสักเท่าไร (สามารถกันได้ UVB and UVA II) เนื่องจากสเปกตรัมการดูดกลืนรังสียูวีนั้นไม่กว้างนัก นอกจากนี้ ถ้าพูดถึงความเป็นพิษและความปลอดภัย สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ปลอดภัยกว่า ในขณะที่ไทเทเนียมเป็นโลหะหนักที่เป็นพิษ (Toxic heavy metal) ดังนั้นซิงค์ออกไซด์ (ZnO) มีความจึงปลอดภัยกว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2)

Refer photo: Morfesis, Anastasia & Fairhurst, David. (2005). Physicochemical Characterization of Nanosize Zinc Oxide and Titanium Dioxide used as UVR Sunscreen Agents in Cosmetic Formulations. 2005 NSTI Nanotechnology Conference and Trade Show – NSTI Nanotech 2005 Technical Proceedings.

ทำไมต้อง Ectoin

แบคทีเรีย ECTOIN จากสาหร่ายใต้ทะเลลึก ที่อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่จะไม่ว่าร้อนจัด เย็นจัด มลภาวะเยอะขนาดไหน ก็สามารถเอาตัวรอดได้ อีกหนึ่งสารบำรุงที่เราใส่เข้ามาในผลิตภัณฑ์กันแดดของแบรนด์ชุ่มชื่น 

ECTOIN นั้นมีงานวิจัยชัดเจนว่าสามารถลด Sunburn cell ลดลงอย่างชัดเจน จึงมีคุณสมบัติ ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของ UVB และ UVA และทำให้เซราไมค์ที่ผิวสลายช้าลง จึงเป็นสารสกัดที่เหมาะสำหรับเด็กที่โครงสร้างผิวยังไม่แข็งแรง และผู้ใหญ่ผิวแพ้ง่ายที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกำแพงผิว เมื่อโครงสร้างผิวมีความแข็งแรงจะช่วยลดการระคายเคือง ปัญหาผิวจากมลภาวะ (Anti-pollution) ต้นเหตุของการเกิดรอยแดง ระคายเคืองง่าย ไวต่อแดด ที่สำคัญ ECTOIN ยังมีคุณสมบัติเป็น Prolonged Moisturizer ที่ช่วยให้ความชุ่มชื่นผิวได้ยาวนาน (ในงานวิจัยระบุว่าสามารถทำให้ความชุ่มชื่นผิวได้นานถึง 7 วัน) *แต่อย่างไร ขึ้นกับสภาพผิวของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ

  1. ผิวปกติที่ยังไม่ได้ทดลอง 
  2. ผิวที่โดยฉายรังสีและมีการโดยทำร้าย immune cell (langerhans cell)จำนวนมาก 
  3. ใช้ครีมบำรุงผิวพบว่ามีการสร้าง immune cell (langerhans cell) เพิ่มขึ้น 
  4. ใช้สารบำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของ ectoinoพบว่า immune cell (langerhans cell)ใกล้เคียง a)

Refer: Beyer, N., Driller, H.D., & Bünger, J.D. (2000). Ectoin: an innovative, multi-functional active substance for the cosmetic industry.

SOLAR TEST “การประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง”

การทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดของครีมกันแดด สามารถทดสอบได้ 2 วิธี ได้แก่ 

  1. In vivo ( การทดสอบในสิ่งมีชีวิต หรือ บนผิวอาสาสมัคร ) ซึ่งจะมีความแม่นยำมากกว่า แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้เวลาค่อนข้างนาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดประเด็นด้านจริยธรรมหลายประการที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอาสาสมัครผิวหนัง โดยการทดสอบแบบ In vivo เป็นการทดสอบด้วยเครื่อง Solar simulator ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีกลไกเสมือนว่าเป็นแสงจากดวงอาทิตย์

รูปภาพจาก https://www.dermscanasia.com/solartest/

2. ExVivo (การทดลองในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่เพราะเลี้ยงในหลอดทดลอง) ไม่ได้รับความนิสัยสำหรับการทดลองประสิทธิภาพของกันแดด เพราะราคาสูงและความแม่นยำไม่เท่า In vivo

3. In vitro ( การทดสอบโดยใช้เครื่องมือในห้องทดลอง) ให้ผลลัพธ์เร็วและราคาถูกกว่า แต่ผลก็อาจจะแม่นยำน้อยกว่า นอกจากนี้ยังสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบบนผิวอาสาสมัครได้

รูปจาก https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1570023215001105

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแดดที่เราสัมผัสทุกวัน

แสงแดดมีผลกระทบทางชีวภาพมากมาย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย 

ข้อดีคือการสร้างวิตามินดี ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและป้องกันภาวะภาวะกระดูกพรุนได้, ความลับของแสงแดดยังช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย แต่ก็ยังมีข้อเสียอื่นๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

  • skin type : ผิวขาว (melonin ค่อนข้างนอก) จะมีปัญหาผิวไหม้แดดได้ง่ายกว่าผิวแทน เนื่องจากดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ได้มากกว่า แม้อยู่ในสภาวะเดียวกัน
  • Sesonal: องศาของพระอาทิตย์กับโลกขึ้นกับกับการโคจร. ช่วงฤดูร้อนคือช่วยที่พระอาทิตย์กับโลกตั้งฉากต่อกัน โลกก็จะได้รับรังสี UVมากกว่าฤดูการอื่นๆ
  • อากาศ: เมฆสามารถช่วยดูดซับแสงยูวีได้ในระดับนึง แต่ก็ยังสามารถทำร้ายผิวได้อยู่เช่นกัน, ความชื้นหรือน้ำในอากาศช่วยสะท้อนรังสีได้ดังนั้น อากาศที่แห้งจึงมีผลต่อการโดยทำร้ายจากแสงแดดมากกว่า
  • ปริมาณกันแดดในการทา ไม่เพียงพอต่อกิจกรรมที่กำลังทำ ปริมาณที่แนะนำคือ 2 mg ต่อตารางเซนติเมตร การทาซ้ำเมื่อทำกิจกรรมที่มีเหงื่อเยอะหรือกิจกรรมทางน้ำ

 

แสงแดดประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รังสียูวี (UV Rays) แบ่งเป็น 3 ชนิด UVA, UVB and UVC

  • UVC ความยาวคลื่นในช่วงตั้งแต่ 100 – 280 nm ถูกบล็อกตั้งแต่ชั้นบรรยากาศโลก (ozone layer)
  • UVB ความยาวคลื่นในช่วงตั้งแต่ 280 – 320 nm  ถูกบล็อกตั้งแต่ชั้นบรรยากาศโลกส่วนใหญ่ แต่มีบางส่วนประมาณ 0.1% ลงมาถึงผิวโลกได้สามารถทะลุผิวหนังได้ถึงแค่ชั้นผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) UVB คือตัวต้นเหตุหลักของการปัญหาผิวไหม้แดด (Sunburn) ผิวมีอาการแดดถึงอักเสบและมะเร็งผิวหนัง
  • UVA ความยาวคลื่นในช่วงตั้งแต่ 320 – 400 nm มีความยาวของคลื่น UVA สามารถทะลุเข้าถึงผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) องค์ประกอบหลักคือ 

คอลลาเจน (Clollagen) และ อิลาสติน(Elastin) ให้ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ให้ผิวมีสุภาพดีดูอ่อนเยาว์ ดังนั้นการถูกทำร้ายจาก UVA เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าจากการสัมผัสแสงแดด (photoaging)

รูปและข้อมูลจาก https://aktinovolia.com/measurement-ultraviolet-radiations-uva-uvb-uvc/

กันแดดอยู่ได้นานแค่ไหน?

SPF และ PA คืออะไร

  • SPF ย่อมาจาก sun protection factor การปกป้องผิวจากรังสียูวีบี (UVB) ปกติผิวของเรามีความสามารถทนต่อแสงแดดได้ประมาณ 10-15 นาที เมื่อเราทา ครีมกันแดด SPF 50 ความสามารถในการทนต่อแสงแดดจะมากขึ้นเป็น 10-15 * 50 = 500 – 750 นาที
  • PA ย่อมาจาก Protection grade of UVA การปกป้องผิวจากรังสี UVA (ยูวีเอ) ส่วนจะปกป้องได้มากแค่ไหน ให้ดูที่จำนวน +
  • ค่า PA แรกเริ่มมากจากประเทศญี่ปุ่น และได้รับความนิยมในหมู่มากเพื่อดูค่าการปกติผิวจากแสงแดดตัวร้าย

 

ปริมาณที่เหมาะสมของการทากันแดด

  • เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมทากันแดดที่หน้าถึงต้อง2 ข้อนิ้ว จริงๆแล้ว 2ข้อนิ้วคือค่าเฉลี่ยปริมาณที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์กันต่อพื้นผิวในการใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามจริง
  • ปกติการวัด SPF จะใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆปริมาณ 2 mg/1 ตารางเซนติเมตรในการวัดผล เมื่อผลออกมาได้ SPF 50 ดังนั้นเพื่อให้กันแดดมีปะสิทธิภาพตามจริงจึงควรจะต้องใช้ ปริมาณ 2 mg/1 ตารางเซนติเมตร ต่อปริเวณผิวนั้นๆ  เช่นหน้า ข้อมูลอ้างอิงวิจัยของ SCCS (EU) ที่ระบุว่า ใบหน้าคนเรามีพื้นที่ทั้งหมดเฉลี่ย 565 ตารางเซนติเมตร หักส่วนของคิ้ว ตา ปาก ที่ไม่จำเป็นต้องทากันแดด จะเหลือ 350-400 ตารางเซนติเมตร (350 * 2 = 700 mg; 0.7 g) 
  • ซึ่งแต่ละส่วนของอวัยวะจะใช้ปริมาณแตกต่างกัน ดังนี้
    • ใบหน้าใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้ว
    • ใบหน้าและลำคอประมาณ 2.5 ข้อนิ้ว
    • ลำตัวประมาณ 7 ข้อนิ้ว

https://ec.europa.eu/health/scientific_committees/consumer_safety/docs/sccs_o_120.pdf

Sunscreen มีกี่ประเภท

Sunscreen มีกี่ประเภท

Sunscreen มี 3 ประเภท Chemical sunscreen,  Physical sunscreen และ Hybride

Chemical subscreen: ทำหน้าที่ปกป้องผิวโดยการดูดซับรังสียูวีจากภายนอกและคายออกเป็นรูปแบบความร้อนจากผิวหนัง ประกอบด้วย Oxybenzone, Octinoxate, Octisalate, Avobenzone และ Homosalate เป็นต้น

จากงานวิจัยพบว่า

ข้อดี

  • บางเบา สบายผิว เกลี่ยง่าย ไม่ขาว ทนน้ำทนเหงื่อ ด้วยตัว Raw material ที่เป็นน้ำมัน
  • สูตร chemical sunscreen ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจึงมักจะมีเนื้อบางเบาสบายผิว เนื้อน้ำนมหรือสีใส ไม่เหนี่ยวแหนะ เกลี่ยง่าย ซึมง่ายช่วยดูดซึมรังสียูวีไม่ให้ทำร้ายผิว

ข้อเสีย

  • ในหลายเคส chemical sunscreen ชนิดต่างๆ มีการระคายเคืองผิวได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวบอบบาง เช่น เด็กและปัญหาผิวเรื้อรัง (เช่น กลาก โรคสะเก็ดเงิน หรือโรซาเซีย) หรือผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย (sensitive skin)
  • ประสิทธิภาพของ Chemical sunscreen จะลดลงไปเรื่อยตามระยะเวลาการใช้งาน จึงจำเป็นต้องทาซ้ำตลอดทั้งวัน เพื่อคงความสามารถในการปกป้องผิว
  • เกิดประการังฟอกขาว

 

Physical sunscreen: ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิว ช่วยสะท้อนรังสียูวี ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ 2 ชนิด ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์ (zinc oxide) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide)

ข้อดี

  • มีความอ่อนโยนต่อผิว โอกาสการระคายเคืองเกิดได้น้อยกว่า  Chemical sunscreen 
  • สูตร physical sunscreen ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจึงมักใช้ในผลิตสำหรับ sensitive skinและ Kid product จะมีเนื้ค่อนข้างขาว เนื้อหนัก เคลือบบนผิวเพื่อสะท้อนรังสัยูวี
  • มีประสิทธิภาพคงทนในการเป็นเกราะป้องกันผิว
  • Reef friendly

ข้อเสีย

  • เนื้อสีขาว มีผลต่อเนื้อผลิตภัณฑ์
  • เนื้อค่อนข้างหนักและเกลี่ยยากด้วย Raw material ที่เป็นผงแป้ง
  • หลุดง่าย ไม่ทนน้ำและเหงื่อเท่า checmical sunscreen

 

Hybride sunscreen: การผสมผสานระหว่าง Chemical subscreen และ Physical sunscreen เพื่อช่วยการส่งเสริมประสิทธิภาพข้อดีกลบข้อเสียของทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน

รูปภาพจาก https://portipoh.com.my/?m=ippunitv-on-x-physical-sunscreen-vs-chemical-sunscreen-both-ss-RdpmJbiD

Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from - Youtube
Vimeo
Consent to display content from - Vimeo
Google Maps
Consent to display content from - Google